Warframe: Pay to Skip Story
หากได้ดู Devstream 174 ที่ผ่านมา ประเด็นหนึ่งที่ถูกนำมากล่าวถึงคือ การเปิดให้ผู้เล่นจ่ายเงินเพื่อข้ามเนื้อเรื่องได้ อธิบายง่ายๆ ว่ามันคือการเล่นอัพเดตล่าสุด (ที่จะมีในอนาคต) โดยไม่ต้องเสียเวลาไปไล่ทำเควส
สำหรับผู้เล่นเก่า (ก่อน Duviri Paradox) จะทราบดีว่า Warframe นั้นจะมี Main (Story) Quest ที่ต้องทำไปตามลำดับ เพื่อเข้าถึง (ปลดล็อก) คอนเท็นบางอย่างของเกม และยังเป็น Canon / Lore ของเกมอีกด้วย
เมื่อทาง DE เปิดประเด็นดังกล่าวขึ้นมา (ตามที่พูดใน Devstream คือยังเป็นแค่ "ไอเดีย") ทำให้เกิดความกังวลขึ้นในชุมชน Warframe ซึ่งในที่นี่จะมาเล่าให้ฟังถึงมุมมองของแต่ละฝ่ายระหว่างผู้พัฒนา (Developer) และชุมชนผู้เล่นฝ่ายที่มีความกังวล
เหตุใดจึงไม่ควรมี "Pay to skip Story" ในมุมมองของผู้เล่น
แม้ในเริ่มต้นของเกม Warframe จะไม่มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน แต่เมื่อเกมมีการพัฒนามาเรื่อยๆ ก็ได้มีการผูกเรื่องราว (Lore/Story) ที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญคือการมาถึงของเควส The Second Dream ที่ชุมชน Warframe ถือเป็น "เรื่องราวศักสิทธิ์" ที่จะสปอยล์มิได้ ผู้เล่นใหม่อาจจะงง แต่ผู้เล่นเก่าจะทราบดีว่า "ผู้ใดสปอยล์เนื้อเรื่องหลังเควส TSD ให้ผู้เล่นใหม่ที่ยังไม่ผ่านเควสนั้นฟัง, ผู้นั้นได้ชื่อว่าละเมิดกฏอันไม่ได้เขียนไว้ (Unwritten Rule) ของชุมชน"และในเควสต่อๆ มา ก็ยิ่งทำให้เนื้อเรื่องมันแน่นขึ้นไปกว่าเดิม จนมาถึงเควส The New War [ที่ผู้เขียนจะขอทึกทักเอาเองว่า มันคือการจบภาค (Chapter/Episode) ของ Warframe]
ด้วยเหตุนี้ผู้เล่นจึงถือและเชื่อว่า สาระหรือความสนุกส่วนหนึ่งของ Warframe คือการได้เสพเนื้อเรื่องนั่นเอง หากมีเปิดให้ "ข้าม/skip" ส่วนนี้ไป ก็อาจทำให้ "อรรถรส" ของเกมเสียไป
เหตุใดจึงต้องมี "Pay to skip Story" จากมุมมองของผู้พัฒนา
Lock behind Story Quest
การผูก Content ไว้กับเนื้อเรื่อง (Lock behind Story Quest) คือความพยายามของ DE เองในการที่จะป้องกันไม่ให้ผู้เล่น เล่นคอนเท็นจบเร็วเกินไป หากจะมองแบบง่ายๆ (ที่อาจจะไม่เป็นธรรมกับผู้พัฒนานัก) คือการซื้อเวลาให้ตัวเอง (DE) ได้พัฒนาอัพเดตถัดไป โดยเฉลี่ย Warframe จะมีอัพเดตทุกๆ 4 เดือน ในระหว่าง 4 เดือนนี้ ต้องดึงผู้เล่นไว้ให้ได้นานที่สุด ที่ผู้เล่นเคยเจอกันมาแล้วก็เช่น “Time Wall” การคราฟท์ไอเทมที่ต้องใช้เวลาและข้ามไม่ได้, “Grinding Wall” การฟาร์ม Resource ที่ต้องใช้เวลานาน ซึ่งหนึ่งในงานหลักหลังจากอัพเดต นอกจากแก้ bug แล้ว คือการบาลานซ์เกมนั่นเอง โดยพยายามหาตรงกลาง เพื่อไม่ให้ง่ายเกินไปสำหรับผู้เล่นเก่า และไม่ผลักภาระให้ผู้เล่นใหม่แนวความคิดนี้ (Lock behind Story Quest) แม้จะดูดีและใช้งานได้จริงในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปกับเนื้อหา (Content) ที่มากขึ้น ทำให้มันกลายเป็น Block Gate ที่ไม่ใคร่จะเอื้อต่อผู้เล่นใหม่ วิธีแก้ไขที่หลายคนคงอยากบอกก็คือ “ก็ไม่ต้องไปผูก Content ไว้กับเนื้อเรื่องสิ” ถ้าง่ายแบบนั้นก็คงจะดี
ผู้เล่นใหม่ต้องใช้ (เสีย) เวลาในการตามผู้เล่นเก่าให้ทัน
ทุกครั้งที่มีอัพเดตใหม่ เป้าหมายของ DE ก็เพื่อเพิ่มผู้เล่นใหม่นั่นเอง แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าผู้เล่นใหม่ต้องมาติดกับเควสเนื้อเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการทำ ซึ่งอาจถอดใจไปก่อนที่จะได้เล่น Content ที่ตัวเองตั้งใจสมัครเข้ามา (ทดลอง) เล่น หรือผู้เล่นเก่าที่ชวนเพื่อนเข้ามาเล่นด้วยกัน แต่ไปไม่ได้ เพราะยังไม่ปลดล็อกเควสเป็นต้น เหล่านี้คือปัญหาให้ DE ต้องหาทางออก เพื่อให้เกมมันไปต่อได้ เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่จะขับเคลื่อนเกมไป หรือทำให้เกมอยู่ได้ คือฐานผู้เล่นใหม่ๆ ที่แวะเวียนเข้ามานั่นเองทดลองระบบใหม่ ไม่ให้ช้ำทั้งสองฝั่ง (ผู้เล่นเก่า - ผู้เล่นใหม่)
ความพยายามในการแก้เงื่อนที่ตัวเองผูกไว้ของ DE คือ “งั้นก็เริ่มใหม่ จากอีกฝั่งหนึ่งสิ” ที่มาในรูปแบบของ Duviri Padadox ในอัพเดตนี้เองที่ DE เปิดโอกาสให้ผู้เล่นใหม่ได้ทดลอง Content ล่าสุดโดยไม่ต้องเริ่มเกมจากจุดเริ่มต้น แต่ได้เพิ่มตัวเลือกให้สามารถเริ่มเกมใหม่จากจุดสิ้นสุดเนื้อเรื่องได้ (ผู้เขียน - อย่างที่บอกว่า The New War มันคือ Chapter หนึ่งของ Warframe ส่วนที่จะมาต่อจากนี้ ก็ถือได้ว่าคือการเริ่ม Chapter ใหม่) ก็ไม่แน่ใจว่าผลตอบรับเป็นอย่างไร แต่คงจะให้แนวทางกับ DE ได้พอสมควรสุดท้ายแล้ว (ผู้เขียน) เชื่อว่า “Pay to skip Story” ยังไงก็ต้องเกิดขึ้น และคิดว่า Content ใหญ่ในปีถัดไปเป็นตัวกำหนดว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วแค่ไหน
ส่วนคำถามที่ว่า “ทำไมต้อง Pay” ตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คงเป็น “เพื่อหาเงิน” แต่หากจะให้เหตุผลจริงๆ ก็คงเป็น “เพื่อให้ตัวเลือก” แก่ผู้้เล่น คือเลือกได้ว่าจะเล่นไปตามลำดับเดิม, เล่นจากอีกฝั่งหนึ่ง (Paradox), หรือจ่ายแล้วจบ เล่น Content ล่าสุดได้เลย และหากจะให้ข้าม (Skip) ได้ฟรีๆ ก็คงจะไม่ยุติธรรมกับผู้เล่นเก่าหรือผู้เล่นที่ปลดล็อก Content ด้วยวิธีปรกติเท่าใดนัก ....จริงไหม
Comments
Post a Comment